:: สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย ::

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

พ่อขุนรามคำแหงมหาราชเป็นพระราชโอรสของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ปฐมกษัตริย์ แห่งกรุงสุโขทัย พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ มีพระมเหสีคือ พระนางเสือง มีพระราชโอรสสามพระองค์ พระราชธิดาสองพระองค์ พระราชโอรส องค์ใหญ่สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังเยาว์ องค์กลางมี พระนามว่า บานเมือง และพระราชโอรสองค์ที่สาม คือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช เมื่อพระชันษาได้ ๑๙ ปี ได้ชนช้างชนะขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด พ่อขุนศรี อินทราทิตย์ จึงพระราชทานนามว่า "พระรามคำแหง" เมื่อสิ้นรัชสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ และพ่อขุนบานเมืองแล้ว พระองค์ได้ครองกรุงสุโขทัย ต่อมาเป็น พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๓ แห่งราชวงศ์พระร่วงสันนิษฐานว่าพระองค์ สิ้นพระชนม์ในราวปี พ.ศ.๑๘๖๐ รวมเวลาที่ทรงครองราชย์ประมาณ ๔๐ ปี
ผลงาน

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงรวมเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงอัจฉริยภาพทั้งด้านการปกครอง เศรษฐกิจศาสนาและศิลปวิทยาต่างๆที่สำคัญยิ่งคือพระองค์ได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ.๑๘๒๖ ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของอักษรไทยที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

ตราประจำมหาวิทยาลัย

ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช


ประวัติความเป็นมา
ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง เมื่อ พ.ศ.๒๓๗๖ ณ เนินปราสาทเมืองเก่าสุโขทัย อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย โดย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะที่ทรงผนวชเป็นผู้ค้นพบ

สาระ
ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง หรือจารึกหลักที่ ๑ จารึกตัวอักษรด้านที่ ๑-๒ ด้านละ ๓๕ บรรทัด ด้าน ๓-๔ ด้านละ ๒๗ บรรทัด มีข้อความเกี่ยวกับประวัติของพ่อขุนรามคำแหง สภาพความเป็นอยู่ในสมัยสุโขทัย ทั้งในด้านสังคม ศาสนา วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม การปกครอง การค้าขาย เป็นต้น

สถานที่เก็บ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ


ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย

สุพรรณิการ์ ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานต้นสุพรรณิการ์ เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย
ขณะนี้ปลูกไว้บริเวณหน้าอาคาร หอประชุมพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2542

ข้อมูลเกี่ยวกับสุพรรณิการ์ ( กรรณิการ์, ฝ้ายคำ)

วงศ์ : COCHLOSPERMACEAE

ชื่อวิทยาศาสตร์

Cochlospermum religiosum (L.) Alston
Cochlospermum regium (Mart. & Schrank) Pilg.(ฝ้ายคำซ้อน)
Cochlospermum gossypium De Candole
(Syn. Maxmiliana gossypium Kuntze หรือ Bombax gossypium L.)

ชื่อสามัญ : Yellow Silk Cotton, Butter-Cup (Single), Butter-Cup (Double),Torchwood


สีประจำมหาวิทยาลัย

 
 

เพลงประจำมหาวิทยาลัย

เพลงมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ชุดแรก) 2518

01 รามของเรา (ร้องหมู่ วงสุนทราภรณ์)
02 ลูกพ่อขุน (บุษยา รังสี)
03 พ่อกูชื่อขุน (ร้องหมู่ วงสุนทราภรณ์)
04 เรียนคณะไหน (พรเทพ)
05 ดาวราม (ยรรยงค์)
06 รามที่รัก (บุษยา รังสี)
07 รามในดวงใจ (บุษยา รังสี)
08 มาร์ชมิ่งขวัญราม (ร้องหมู่ วงสุนทราภรณ์)
09 มาร์ชพ่อขุนราม (ร้องหมู่ วงสุนทราภรณ์)
10 ขวัญรามของลูก (จิตติมา เจือใจ)
11 รามแห่งความหลัง (ยรรยงค์)
12 พบกันที่ราม (จิตติมา เจือใจ)
13 ลาราม (บุษยา รังสี)
14 ชีวิตนิสิตราม (คณะก่อไผ่)
เพลงมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ชุด2)
01 แสงทองที่รามฯ (พรชัย สุนทรพันธ์)
02 ใต้ฟ้ารามฯ (บุษยา รังสี - พรชัย สุนทรพันธ์)
03 เด่นพระนาม (ทิพย์วรรณ ปิ่นภิบาล)
04 จากใจสู่ใจ (ชรัส เฟื่องอารมย์)
05 รามฯ รอ (สุชาติ ชวางกูร)
06 รามฯ ที่รัก (พรชัย สุนทรพันธ์)
07 รามฯ เริงชัย (เพ็ญศรี พุ่มชูศรี)
08 ข้าวในนา - ปลาในน้ำ (เพ็ญศรี พุ่มชูศรี, พราวตา ดาราเรือง, รังสรรค์ แสงสุข, ธีระ ศรีธรรมรักษ์, และนักร้องวงดนตรีสากล ม.ร.)
09 อรุณรุ่งอาณาจักรรามฯ (เพ็ญศรี พุ่มชูศรี)
10 ขวัญจิตมิตรรามฯ (บุษยา รังสี)
11 อาลัยรามฯ (บุษยา รังสี)
12 จากรามฯ จำลา (พรชัย สุนทรพันธ์)
13 ลาแล้วรามฯ (บุษยา รังสี)
14 รามฯ รุ่งฟ้า (ทิพย์วรรณ ปิ่นภิบาล)
15 เราพยายาม (ทิพย์วรรณ ปิ่นภิบาล สุชาติ ชวางกูร และนักร้องวงดนตรีสากล ม.ร.)
16 ขวานทอง (เพ็ญศรี พุ่มชูศรี, พราวตา ดาราเรือง, รังสรรค์ แสงสุข, ธีระ ศรีธรรมรักษ์, และนักร้องวงดนตรีสากล ม.ร.)
เพลงมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ชุดใหม่) 2543
01 มาร์ชรามคำแหง (ธานินทร์ อินทรเทพ นักร้องศิลปกรประสานเสียง)
02 ปณิธานรามฯ (พญ.พันทิวา สินรัชตานันท์ ทิพย์วรรณ ปิ่นภิบาล, นนทิยา จิวบางป่า, สมา สวยสด, ไกรวิทย์ พุ่มสุขโข, ระวิวรรณ จินดา, มนตรี ,โรเบอร์โต เม้ง)
03 มหาวิทยาลัยของประชาชน (วิสา คัญทัพ)
04 รามฯ คู่ไทย (พญ.พันทิวา สินรัชตานันท์, สมา สวยสด)
05 เลือดสีน้ำเงิน (ธานินทร์ อินทรเทพ)
06 สานฝัน สรรค์สร้างรามฯ (สุเทพ วงศ์กำแหง)
07 เปลวเทียน (จินตนา สุขสถิตย์)
08 สุพรรณิการ์ (ศ.รังสรรค์ แสงสุข)
09 ฝ้ายคำ (ชรินทร์ นันทนาคร)
10 สัญญากับแม่ (พีระพงษ์ พลชนะ)
11 ตามรอยพ่อขุนฯ (อริสมันต์ พงษ์เรืองรอง)
12 ทอฝัน (จิตสุดา พลับศิริ, พีระพงษ์ พลชนะ)
13 กราบลาพ่อขุนฯ (ศ.ดร.ธีระ ศรีธรรมรักษ์)